สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของเทศบาลตำบลลำปลายมาศ
เทศบาลตำบลลำปลายมาศ ตั้งอยู่ เลขที่ 9999 หมู่ 5 ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 พื้นที่ทั้งหมดจำนวน 16.47 ตารางกิโลเมตร คลุมพื้นที่ตำบล ลำปลายมาศ บางส่วนของตำบลหนองคู และตำบลหินโคน และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จรดเขต อบต. หินโคน อบต.หนองคู อำเภอลำปลายมาศ
ทิศใต้ จรดเขต อบต. หนองคู อำเภอลำปลายมาศ
ทิศตะวันออก จรดเขต อบต. หนองคู อำเภอลำปลายมาศ
ทิศตะวันตก จรดเขต อบต. หินโคน และ อบต. หนองคู อำเภอลำปลายมาศ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงโคราช หินที่รองรับส่วนใหญ่ประกอบเป็นหินแข็ง มีโครงสร้างรูปประทุนคว่ำและรูปประทุนหงาย มีรอยแตกรอยแยกและรอยคดโค้งทั่วไป รวมทั้งโดมเกลือ ด้านปฐพีวิทยาพบว่ามีการแทรกดันของเกลือหินกระจายอยู่ทั่วไป เกิดดินเค็มและน้ำเค็ม
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาวะอากาศแบบสวันนา (Tropicai Savanna Climate) ตามการจำแนกเขตภูมิอากาศแบบ Koppen แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
1.3 ลักษณะดิน
ลักษณะดินเป็นดินที่มีศักยภาพปานกลางถึงต่ำ เป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยเพื่อเก็บกักน้ำ ในส่วนของดินที่สามารถทำกรเกษตรได้ดี คือดินที่อยู่ใกล้บริเวณลุ่มน้ำ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เทศบาลทั้งหมด 17 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
2.1.1 ตำบลลำปลายมาศ
หมู่ที่ 1 บ้านลำปลายมาศ
หมู่ที่ 2 บ้านสวนแตง
หมู่ที่ 3 บ้านหนองแสง
หมู่ที่ 4 บ้านผักกาดหญ้า
หมู่ที่ 5 บ้านโนนสมบูรณ์
หมู่ที่ 6 บ้านประชาสรรค์
หมู่ที่ 7 บ้านพัฒนา
หมู่ที่ 8 บ้านสวนใหญ่
หมู่ที่ 9 บ้านเจริญมาศ
หมู่ที่ 10 บ้านใหม่สวนแตง
2.1.2 ตำบลหนองคู
หมู่ที่ 2 บ้านหนองคู
หมู่ที่ 3 บ้านหนองมันปลา
หมู่ที่ 5 บ้านหนองตราด
หมู่ที่ 10 บ้านหนองคูน้อย
หมู่ที่ 11 บ้านหนองมันปลา
หมู่ที่ 14 บ้านหนองคูพัฒนา
2.1.3 ตำบลหินโคน
หมู่ 1 บ้านกะทิง 2.2 การเลือกตั้ง
แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านลำปลายมาศ, หมู่ที่ 3 บ้านหนองแสง , หมู่ที่ 4 บ้านผักกาดหญ้า, หมู่ที่ 5 บ้านโนนสมบูรณ์, หมู่ที่ 6 บ้านประชาสรรค์, หมู่ที่ 7 บ้านพัฒนา, หมู่ที่ 9 บ้านเจริญมาศ และหมู่ที่ 10 บ้านใหม่สวนแตง
เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 บ้านสวนแตง, หมูที่ 8 บ้านสวนใหญ่, หมู่ที่ 2 บ้านหนองคู, หมู่ที่ 3 บ้านหนองมันปลา, หมู่ที่ 5 บ้านหนองตราด, หมู่ที่ 10 บ้านหนองคูน้อย, หมู่ที่ 11 บ้านหนองมันปลา, หมู่ที่ 14 บ้านหนองมันปลา และหมู่ที่ 1 บ้านกะทิง
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากร ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 13,313 คน แยกเป็นชาย 6,372คน เป็นหญิง 6,941 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 5,931 หลังคาเรือน
ตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากรย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2559-2561)
ประชากร | พ.ศ.2564 |
เพศชาย | 6,372 |
เพศหญิง | 6,941 |
รวม | 13,313 |
ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำปลายมาศ
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ มีดังนี้
4.1.1 โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอ จำนวน 4 แห่ง
4.1.2 โรเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
4.1.3 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง
4.1.4 โรงเรียนเอกชน จำนวน 2 แห่ง
4.1.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง
4.1.6 ห้องสมุด จำนวน 2 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
4.2.1 โรงพยาบาล (รัฐบาล) จำนวน 1 แห่ง ขนาดเตียงคนไข้ จำนวน 177 เตียง
4.2.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง
4.2.3 คลินิกเอกชน จำนวน 11 แห่ง
4.2.4 ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลำปลายมาศ จำนวน 1 แห่ง
4.2.5 ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 17 แห่ง
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่งในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ มีการพัฒนาถนนหนทางภายใน เขตเทศบาลทำให้การติดต่อระหว่างชุมชนสะดวกขึ้น มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 อยู่ทางด้านใต้ของชุมชนสามารถเชื่อมไปศูนย์กลางได้โดยใช้เส้นทางถนนสหนพมาศ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ไปทางด้านตะวันตก ส่วนทางด้านตะวันออกเชื่อมไปยังอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ทิศเหนือมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลขเชื่อมไปยังอำเภอชำนิ และอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางคมนาคม เส้นทางรถไฟ เป็นเส้นทางหลักอีกเส้นทางสายที่ประชากรในพื้นที่สามารถเลือกเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก
5.2 การไฟฟ้า
การไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ โดยความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลำปลายมาศ ในส่วนเทศบาลรับผิดชอบในการบำรุงรักษาซ่อมแซม และจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์เฉพาะไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะเพื่อให้แสงสว่าง ตามถนน ตรอก ซอย พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ ร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด
5.3 การประปา
เทศบาลตำบลลำปลายมาศ มีการประปาส่วนภูมิภาค ผลิตน้ำประปาบริการประชาชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลโดยใช้น้ำจืดลำน้ำมาศ และห้วยขี้หนู
5.4 โทรศัพท์
องค์การโทรศัพท์ (ทีโอที) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชนในเขตอำเภอลำปลายมาศ และเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
5.5.1 ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอลำปลายมาศ ตั้งอยู่ถนนลำลายมาศ-นางรอง ให้บริการไปรษณีย์โทรเลขจำหน่ายไปรษณีย์อากร บริการธนาณัติ พัสดุ และตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ แก่ประชาชนทั่วไป
5.5.2 เทศบาลตำบลปลายมาศ มีระบบเสียงตามสาย ที่ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนี้ การเพาะปลูก มีการปลูกพืชที่สำคัญ คือ ข้าว นอกจากนั้นยังมีการปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ผลไม้ และพืชผักต่าง ๆ และการปศุสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์พืชเพื่อจำหน่าย เช่น วัว สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น
(1) การเพาะปลูก ชนิดพื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ข้าว มันสำปะหลังและพืชผักต่างๆ
(2) การปศุสัตว์ การเลี้ยงโคเนื้อ สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น
6.2 การบริการ
(1) โรงแรม 6 แห่ง
(2) ธนาคาร 6 แห่ง
(3) สถานที่จำหน่ายอาหาร ตาม พ.ร.บ. สาธารณสุขฯ 173 แห่ง
6.3 การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลลำปลายมาศมีสถานที่ท่องเที่ยว ดังนี้ หอพระลำปลายมาศ เจดีย์วัดหลวงพ่อทีและอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ เจดีย์ใหญ่วัดหนองหญ้าปล้อง ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ และอุทยานลำน้ำมาศ ซึ่งเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวหยุดพักรับประทานอาหารในเขตเทศบาล
6.4 อุตสาหกรรม
การประกอบการอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก
(1)โรงสีข้าว 6 แห่ง
(2)โรงงานทำอิฐ 1 แห่ง
(3)โรงงานปลาทู 1 แห่ง
(4)โรงงานทำขนม (เบอร์เกอร์รี่) 2 แห่ง
6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
(1) สถานีบริการน้ำมัน 7 แห่ง
(2) ศูนย์การค้า/ห้างสรรสินค้า 3 แห่ง
(3) ตลาดสด 1 แห่ง
(4) สถานที่ประกอบการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 218 แห่ง
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
เทศบาลตำบลลำปลายมาศมีงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง งานประจำปีคือ งานงิ้วศาลเจ้าพ่ออำเภอลำปลายมาศ งานของดีอำเภอลำปลายมาศ
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การปั้นหม้อ การนวดแผนโบราณ
ภาษาถิ่นได้แก่ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาไทยโคราช
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
-ขนมคุกกี้ข้าวกล้อง ( หมู่ 2 หนองคู ) (OTOP)
-ไข่เค็มเจ๊น้อย (OTOP)
-ไก่ย่างนายอึ้ง (ของฝาก)
-ขาหมูเพิ่มพูน (ของฝาก)
-หมูสะเต๊ะผู้ใหญ่ตุ้ย
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 ทรัพยากรน้ำ
ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำคือลำน้ำมาศ มีอ่างเก็บน้ำ ห้วยขี้หนู
8.2 ทรัพยากรป่าไม้
มีพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการอนุรักษ์ในชุมชน
8.3 ทรัพยากรดิน
มีความเหมาะสมของที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ชั้นความเหมาะสมของที่ดินเพื่อการปลูกพืช 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ พืชไร่ และผลไม้ยืนต้น ในเกณฑ์เหมาะสมปานกลางกึ่งเหมาะสมมาก